2022-v5-1-bee-article003-650630

2022-v5-1-bee-article003-650630

วิธีการศึกษาพฤติกรรมผู้ใช้สวนสาธารณะเพื่อการพัฒนา
Methodology of Study for Park-use Behavior Affected Development

นิธิวดี ทองป้อง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

บทคัดย่อ
การศึกษาเชิงสำรวจปัจจัยทางกายภาพที่มีผลต่อการใช้-ไม่ใช้สวน และลักษณะกายภาพของพื้นที่ที่มีการใช้งานหรือไม่มีการใช้ เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการออกแบบและพัฒนาสวนสาธารณะที่มีความเหมาะสมต่อความต้องการของผู้ใช้สวน มีวิธีเก็บข้อมูล ได้แก่ การสังเกตการณ์และการใช้แบบสอบถาม ข้อมูลจากการสังเกตมีความสำคัญที่สุด เนื่องจากผู้ศึกษาได้ลงพื้นที่สัมผัสข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยตนเอง มีการจดบันทึกโดยระบุกิจกรรม ตำแหน่งที่เกิดกิจกรรม และลักษณะของผู้ใช้สวนลงในแผนผังของสวนที่สำรวจ ผลการศึกษาเกิดการรับรู้และการรายงานสภาพเดิมและกิจกรรมการใช้สวนที่เกิดขึ้นจริงของช่วงเวลา ณ ปัจจุบัน ปัจจัยทางกายภาพที่มีผลต่อการใช้พื้นที่สวน ได้แก่ สภาพภูมิอากาศ การดูแลรักษา ความร่มรื่นของบรรยากาศ และผู้ร่วมใช้สวน ผลลัพธ์ที่ได้สามารถนำไปสู่การออกแบบเพื่อปรับปรุงและพัฒนาพื้นที่สวนสาธารณะที่เหมาะสมและเกิดประโยชน์ใช้สอยต่อผู้ใช้สวนได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ให้คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นต่อผู้ใช้ระดับบุคคลและเมืองอย่างยั่งยืน

คำสำคัญ: พฤติกรรมมนุษย์, การพัฒนา, สวนสาธารณะ

Abstract
A survey study is that the physical factors affecting the use or not the garden and the physical nature of the area. These are used as a guideline for the design and development of parks that are suitable for the needs of garden users. The methods of data collection are including observation and questionnaires. It is the fact that the observational data is of the utmost importance because the researchers had visited the area to experience the qualitative data by themselves. They recorded the data of activities, event location and the characteristics of the garden users into the plan of the surveyed garden. The study resulted in the perception and reporting of the original condition and the actual activities of garden use at the present time. There are the physical factors affecting the use of the garden area were climatic conditions, maintenance, shady atmosphere, and garden users. The results can lead to the design improvement and development a park area that is suitable and useful for the park users with full efficiency. They make to provide better quality of life for individual and city users as sustainable.

Keywords: Human behavior, Development, Park

References
นิธิวดี ทองป้อง. (2546). พฤติกรรมการใช้สวนสาธารณะที่เป็นผลจากสภาพแวดล้อมทางภูมิทัศน์ของสวนในเขตเทศบาลนครขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นิลุบล คล่องเวสสะ. (2544). การศึกษาผู้ไม่ใช้สวนสาธารณะ: กลุ่มวัยรุ่นตอนปลาย. วารสารสาระศาสตร์ ฉบับที่ 3, กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปริญญา ฉายแสง. (2540). ความสัมพันธ์ระหว่างความพอใจของผู้ใช้สวนกับพื้นที่ใช้งานในสวนสาธารณะระดับชุมชน (กรณีศึกษาสวนรมณีนาถ และสวนอุทยานเบญจสิริ). วิทยานิพนธ์ปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
มานิต หวังธรรมเกื้อ. (2541). สภาพแวดล้อมทางภูมิทัศน์กับพฤติกรรมของผู้ใช้สวนสาธารณะระดับชุมชน. วิทยานิพนธ์ปริญญาภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาภูมิสถาปัตยกรรม บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิมลสิทธิ์ หรยางกูร. (2541). พฤติกรรมมนุษย์กับสภาพแวดล้อม: มูลฐานทางพฤติกรรมเพื่อการออกแบบและวางแผน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2554). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. เข้าถึงเมื่อ 2 มิถุนายน 2565 จาก https://dictionary.orst.go.th/
Chare C. Marcus and Carolyn Francis. (1988). People Place: Design guidelines for Urban Open Space. Department of Architecture and Landscape Architecture, University of California: Berkeley: Vand Nostrand Reinhold.
Elizabeth Barlow Rogers. (1987). Rebuilding Central Park: A Management and Restoration Plan. London: The MIT Press.
George E. Fogg and J. William Shiner. (1981). Management planning for park and recreation areas. United State: National Recreation and Park Association.
Kevin Lynch. (1971). Site Planning: second edition. Cambridge, Massachusetts and London: England: The MIT Press.
Monty L. Christiansen. (1977). Park planning handbook: fundamentals of physical planning for parks and recreation areas. New York: John Wiley & Sons.
Randolph T. Hester, Jr. (1975). Neighborhood Space. New York: John Wiley & Sons, Inc.
Rutledge A.J. and D. J. Monar. (1985). A Visual Approach to Park Design. New York: John Wiley & Sons.
Yamane, T. (1967). Statistics, An Introductory Analysis. 2nd Ed., New York : Harper and Row.