2021-v4-1-article4-641009

2021-v4-1-article4-641009

การศึกษาแนวทางการปรับปรุงและจัดระเบียบทางเดินเท้ารวมถึงสภาพภูมิทัศน์เพื่อคนทั้งมวล กรณีศึกษา ย่านสถานศึกษาโดยรอบบริเวณศูนย์ราชการจังหวัดขอนแก่น
A study of pedestal and landscape improvement for universal design: A case study of educational area surrounding government center, Khon Kaen province

นิธิวดี ทองป้อง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
สัญชัย สันติเวส
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ผกาสวรรค์ ปรัชญคุปต์
นักผังเมืองชานาญการ ฝ่ายผังเมือง องค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น
ภูวเรศ อรรคอุดม
สถาปนิกปฏิบัติการ ฝ่ายผังเมือง องค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น
ธีรพัฒน์ หนองหารพิทักษ์
ผู้ช่วยวิจัย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
วรุตม์ พฤฒิธรรมกูล
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
บุษบามินตรา ตั้งอยู่
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
อนุสิทธิ์ นันทพรม
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

บทคัดย่อ
การศึกษาแนวทางการปรับปรุงและจัดระเบียบทางเดินเท้ารวมถึงสภาพภูมิทัศน์เพื่อคนทั้งมวล กรณีศึกษา ย่านสถานศึกษาโดยรอบบริเวณศูนย์ราชการจังหวัดขอนแก่น จากการลงพื้นที่สำรวจและศึกษาสภาพของพื้นที่ที่เป็นปัญหาปัจจุบันและปัจจัยเกี่ยวกับการเข้าถึง โดยจัดทำเป็นแนวทางการออกแบบสภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อคนทั้งมวลของเส้นทางสัญจรพบว่า เส้นทางเดินเท้ามีสิ่งกีดขวาง ไม่มีการจัดระเบียบ ขาดความปลอดภัย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ขาดการดูแลบำรุงรักษา
การศึกษานี้ได้นำเสนอแนวความคิดในการออกแบบปรับปรุงทางเดินเท้าในพื้นที่สาธารณะที่สำคัญ โดยแบ่งได้เป็น 5 ระดับ ได้แก่ ระดับที่ 1 การปรับปรุงพื้นที่โดยการจัดระเบียบ ระดับที่ 2 การปรับปรุงพื้นที่โดยการซ่อมแซมหรือต่อเติมที่ไม่ซับซ้อน ระดับที่ 3 การปรับปรุงพื้นที่โดยการต่อเติมหรือโยกย้ายสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อปรับให้เหมาะสมมากขึ้น ระดับที่ 4 การปรับปรุงพื้นที่โดยการรื้อถอนและก่อสร้างงานขนาดเล็ก และ ระดับที่ 5 การปรับปรุงพื้นที่โดยการรื้อถอนและก่อสร้างใหม่ โดยการปรับปรุงพื้นที่สาธารณะจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และประชาชนทุกคน ทุกคนและทุกหน่วยงานต้องมีทัศนคติในเรื่องของการให้ลำดับความสำคัญที่เป็นความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิ ความเสมอภาค และการให้เกียรติซึ่งกันและกัน จึงสามารถนำไปสู่การพัฒนาพื้นที่เพื่อคนทั้งมวลอย่างแท้จริง

คำสำคัญ: ทางสัญจรสาธารณะ สภาพภูมิทัศน์ ศูนย์ราชการ การออกแบบเพื่อคนทั้งมวล

ABSTRACT
A study of pedestal and landscape improvement for universal design: A case study of educational area surrounding government center, Khon Kaen province. By conducting site surveys combined with current area problems and accessibility factors, the guideline for passageways environmental design and Universal Design facilities is created. The study found that the footpath is obstructed, unorganized, unsafe, and especially lack of maintenance.
This study presents the concept of key public area pedestal design improvement. It is categorized into 5 levels as follow; level 1: area improvement by organizing, level 2: area improvement by simple repairing or renovating, level 3: area improvement by renovating or moving facilities to optimize it, level 4: area improvement by demolishing and small constructing, and level 5: area improvement by demolishing and new constructing. The cooperation from government and private sectors together with all people are required for public area improvement. Thus, in order to have the genuine area improvement for Universal Design, everyone and every organization need to prioritize and understand the right, equality and pay respect to others.

Keywords: Public ways, Landscape Environment, Government center, Universal design

References
กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2560). สถิติข้อมูลคนพิการที􀃉มีบัตรประจำตัวคนพิการ ปี พ.ศ. 2552-2560. เข้าถึงเมื่อ 31 ธันวาคม 2560 เข้าถึงได้จาก https://www.tcijthai.com/news/2019/4/watch/8921
การเคหะแห่งชาติ. (2551). บทความประสบการณ์จากญี่ปุ่น : การออกแบบเพื่อการใช้งานของคนทุกกลุ่มในสังคม. เข้าถึงเมื่อ 10 มกราคม 2556. เข้าถึงได้จาก http://jica.nha.co.th/knowledge/experience/การออกแบบเพื่อการใช้งานของคนทุกกลุ่มในสังคม.pdf
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. (2557). โครงการจัดทำกรอบแนวทางการปรับปรุงผังแม่บทศูนย์ราชการและแผนปฏิบัติการตามผังแม่บทเมืองหลัก : ขอนแก่น. องค์การบริหารส่วนจังหวัด ขอนแก่น.
เดชา บุญคํ้า. (2554). การวางผังบริเวณและงานบริเวณ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สถาปนิกอาสา-วิศวกรใจดี [นามแฝง]. (2558). การเตรียมสภาพแวดล้อมเพื่อผู้สูงอายุ ผู้พิการและเด็ก. ม.ป.ท.
สมาคมสถาปนิกสยาม. (2557). ข้อแนะนำการออกแบบสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับทุกคน. สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ กรุงเทพฯ: พลัสเพรส.
สัญชัย สันติเวส และ นิธิวดี ทองป้อง. (2560). ทัศนคติของคนไทยที่มีต่อสิ่งอำนวยความสะดวกของผู้พิการที่ถูกออกแบบเพื่อคนทั้งมวลในที่สาธารณะ. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ Veridian e-journal, ปีที่ 10, ฉบับที่ 3, (กันยายน-ธันวาคม), 2560, มหาวิทยาลัยศิลปากร, หน้าที่ 1360-1370.
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (2548). กฎกระทรวง : กำหนดสิ่งอำนวยความสะดวกในอาคารสำหรับผู้พิการหรือทุพพลภาพ และคนชรา พ.ศ. 2548. พระราชบัญญัติความคุมอาคาร พ.ศ. 2522.
สำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม. (2541). ผังแม่บทศูนย์ราชการและแผนปฏิบัติการตามผังแม่บท ในเมืองหลัก : ขอนแก่น. คณะกรรมการจัดระบบศูนย์ราชการ.
Act-3D. (2020). Lumion 3D Rendering Software | Architectural Visualization [computer program]. Accessed June 12, 2020. Available From https://lumion.com/
Connell, B. R., and others. (1997). The 7 Principles of Universal Design. [Cited 8 Oct 2017.] Available from URL: https://projects.ncsu.edu/ncsu/design/cud/about_ud/udprinciplestext.htm
Centers for Disease Control and Prevention. (2011). Home &recreational safety. [Cited 25 Nov 2013.] Available from URL: http://www.cdc.gov/homeandrecreationalsafety/index.html
Preiser, Wolfgang F.E., and Elaine Ostroff. (2001). Universal Design Handbook. New York: McGraw-Hill.
Steinfeld, E., and Jordana L. Maisel. (2012). Universal Design. New Jersey: John Wiley & Sons.