2021-v4-1-article3-641009

2021-v4-1-article3-641009

การประเมินอาคารอนุรักษ์พลังงาน กรณีศึกษา : อาคารพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา มหาวิทยาลัยขอนแก่น

พรสวัสดิ์ พิริยะศรัทธา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินอาคารพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในด้านการอนุรักษ์พลังงานตามเกณฑ์ของกฎกระทรวงและประกาศกระทรวงพลังงาน โดยทำการสำรวจและเก็บข้อมูลของอาคาร ได้แก่ ข้อมูลทางกายภาพของอาคาร วัสดุอาคาร และงานระบบของอาคาร เพื่อนำข้อมูลมาคานวณและวิเคราะห์โดยใช้โปรแกรม BEC v.1.0.6 การประเมินอาคารอนุรักษ์พลังงานสามารถประเมินได้ 2 ทางเลือก การประเมินสำหรับทางเลือกที่ 1 พบว่าระบบกรอบอาคารมีค่า OTTV รวม เท่ากับ 52.45 วัตต์ต่อตารางเมตร และค่า RTTV รวม เท่ากับ 3.68 วัตต์ต่อตารางเมตร ซึ่งตามเกณฑ์จะต้องมีค่า OTTV รวมน้อยกว่า 50 วัตต์ต่อตารางเมตร ทำให้ระบบกรอบอาคารไม่ผ่านเกณฑ์ ในส่วนของระบบที่ผ่านเกณฑ์ ได้แก่ ระบบแสงสว่างมีค่ากำลังไฟฟ้าส่องสว่างสูงสุดเท่ากับ 13.754 วัตต์ต่อตารางเมตร ระบบปรับอากาศมีค่า COP เท่ากับ 3.236 และ 3.227 ผลการประเมินสำหรับทางเลือกที่ 1 จึงไม่ผ่านการประเมิน ส่วนการประเมินสำหรับทางเลือกที่ 2 พบว่าอาคารมีค่าการใช้พลังงานโดยรวมของอาคารเท่ากับ 353,978.46 กิโลวัตต์-ชั่วโมงต่อปี ซึ่งน้อยกว่าอาคารอ้างอิง ผลการประเมินสำหรับทางเลือกที่ 2 จึงผ่านการประเมิน การปรับปรุงเพื่อลดการใช้พลังงานโดยรวมของอาคารโดยใช้เซลล์แสงอาทิตย์ จะสามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ 69,921.07 กิโลวัตต์-ชั่วโมงต่อปี ประหยัดค่าไฟฟ้าได้ประมาณ 262,554 บาทต่อปี โดยมีระยะเวลาคืนทุน 16.79 ปี

คำสำคัญ: พลังงานโดยรวมของอาคาร พลังงานทดแทน เซลล์แสงอาทิตย์ โปรแกรมประเมินประสิทธิภาพการใช้พลังงานของอาคาร

Abstract
The objective of this research was to assess the natural history museum of Khon Kaen University, in terms of energy conservation and in accordance with the criteria of the Ministerial Regulations and Announcements of the Ministry of Energy. This was accomplished by exploring and collecting the information about the building, including the building’s physical data, building materials and building systems. The data was calculated and analyzed using the BEC v.1.0.6 program. A building’s energy conservation can be assessed via two options. The assessment for option 1 revealed that the building’s envelope system had shown a total OTTV value of 52.45 watts per square meter and a total RTTV value of 3.68 watts per square meter. According to the criteria, the total OTTV value must be less than 50 watts per square meter. Therefore, the building’s envelope system had failed the criteria. The building systems, which had met the criteria, consisted of the lighting system with the maximum power density of 13.754 watts per square meter and the air conditioning system with COP values of 3.236 and 3.227, the results of the assessment for option 1 had failed to meet the criteria. In contrast, the assessment for option 2 found that the whole building energy consumption had been equal to 353,978.46 kilowatt-hour per year, which was less than the reference building. The results of the assessment for option 2had met the criteria. An improvement, which could reduce the whole building energy consumption, was determined to be the use of solar cells, which could generate 69,921.07 kilowatt-hour per year of electrical energy. This would allow for a savings 262,554 baht in electricity costs per year with a payback period of 16.79 years.

Keywords: whole building energy, renewable energy, solar cell, Building Energy Code program (BEC)

References
กฎกระทรวง กำหนดประเภทหรือขนาดของอาคาร และมาตรฐาน หลักเกณฑ์และวิธีการในการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน, ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 137 ตอนที่ 94 ก หน้า 7, 2563.
กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน, คู่มือการใช้งานโปรแกรม BEC v.1.0.6. กรุงเทพฯ: กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน, 2551.
กองยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, แผนยุทธศาสตร์การบริหาร มหาวิทยาลัยขอนแก่น พ.ศ. 2563-2566. ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2563.
กองอาคารและสถานที่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ข้อมูลการใช้พลังงานไฟฟ้า มหาวิทยาลัยขอนแก่น พ.ศ. 2562-2563. ขอนแก่น, 2563.
ประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณในการออกแบบอาคารแต่ละระบบการใช้พลังงานโดยรวมของอาคาร และการใช้พลังงานหมุนเวียนในระบบต่างๆ ของอาคาร, ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 126 ตอนพิเศษ 122 ง หน้า 21, 2552.
สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์, คู่มือปฏิบัติวิชาชีพ การออกแบบระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับอาคารในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์, 2558.
Solartron, (2020, 6 December). Multicrystalline Silicon Solar Module 325 W SP325. Available: http://www.solartron.co.th/thai/SP300325W