การพัฒนาศักยภาพพื้นที่ของเรือนแถวพื้นถิ่นย่านตลาดน้ำภาคกลางสู่กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน
The Area Potential Development of Vernacular Rowhouse in Floating Markets Central Region to Public Participation Process
ศุภโชค สนธิไชย
อาจารย์ประจำ สาขาการออกแบบตกแต่งภายในและนิทรรศการ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
บทคัดย่อ
การพัฒนาศักยภาพพื้นที่ของเรือนแถวพื้นถิ่นย่านตลาดน้ำภาคกลางสู่กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน ที่ได้จากผลศึกษาทั้ง 2 ด้าน กล่าวคือ 1) การศึกษาอัตลักษณ์องค์ประกอบสถาปัตยกรรมจากเรือนแถวลุ่มแม่น้ำเกี่ยวกับรูปแบบลักษณะองค์ประกอบด้านสถาปัตยกรรมเรือนที่อยู่อาศัยในแต่ละช่วงอายุจากกายภาพของภูมิศาสตร์ที่ตั้งถิ่นฐานสังคมลุ่มแม่น้ำในช่วงปี พ.ศ. 2250-2475 บริเวณย่านตลาดน้ำภาคกลาง และ 2) สำรวจเก็บข้อมูลพื้นที่ตัวแทนสำคัญที่สามารถอธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างบริบททางวัฒนธรรมชุมชนจากภูมิทัศน์วัฒนธรรมปัจจุบันควบคู่อัตลักษณ์องค์ประกอบสถาปัตยกรรมจากเรือนแถวลุ่มแม่น้ำกลุ่มตัวอย่างกรณีศึกษา
พบว่า บริเวณพื้นที่กรณีศึกษาเรือนแถวลุ่มแม่น้ำภาคกลางนั้น “การเปลี่ยนแปลง” หรือ “การคงอยู่” ของรูปแบบลักษณะเรือนแถว มาจากเหตุและปัจจัยการปรับตัวคล้อยตามพฤติกรรมที่แตกต่างกันในแต่ละกิจการอาชีพพื้นถิ่น รวมถึงการปรับรูปแบบเรือนสู่ธุรกิจด้านการท่องเที่ยวที่ฝังแน่นและกระจายตัวตามตำแหน่งกลุ่มพื้นที่ค้าขายมาตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันนั้น ส่งผลโดยตรงต่อการคงอยู่ของเรือนแถวพื้นถิ่นย่านตลาดน้ำภาคกลาง ที่สามารถบ่งชี้ให้ทราบถึงอัตลักษณ์ทางเชื้อชาติกำเนิด และวิถีการดำรงอยู่ผ่านการปรับตัวตามประเพณีทางวัฒนธรรมพื้นที่สู่การก่อเกิดภูมิทัศน์ทางวัฒนธรรมกลุ่มย่อยที่หลากหลายอยู่รวมตัวกัน
อีกทั้ง แนวคิดเพื่อศึกษาถึงการปรับตัวผ่านการสังเกตเรือนแถวพื้นถิ่นย่านตลาดน้ำที่แปรเปลี่ยนลักษณะรูปแบบพื้นที่การใช้งานและโครงสร้าง แสดงให้ทราบถึงประเด็นสำคัญเกี่ยวกับการก่อรูปลักษณะเรือนภายใต้บริบททางวัฒนธรรมสังคมลุ่มแม่น้ำอย่างต่อเนื่อง จากความสัมพันธ์ระหว่างเรือนแถวย่านตลาดน้ำกับบุคคลภายนอกพื้นที่ต่อสภาพชุมชนสู่การเปรียบเทียบลำดับชั้นทางสังคม ตามลักษณะอิทธิพลทางสังคมจากบุคคลภายนอกพื้นที่ชุมชนเข้าสู่ชุมชนโดยแสวงหาผลประโยชน์เชิงพื้นที่ท่องเที่ยว อาจแสดงถึงสิ่งที่ไม่ได้ตั้งใจหรือตั้งใจให้เกิดขึ้นต่อรูปแบบอัตลักษณ์เรือน เนื่องจากความกดดันของกลุ่มอิทธิพลทางสังคมด้านระบบทุนนิยมของบุคคลภายนอกพื้นที่ชุมชน ส่งผลโดยตรงต่อการปรับเปลี่ยนในวิถีดำรงอยู่ที่ต้องอาศัยการสร้างรายได้จากกระบวนการพัฒนาตนเองให้อยู่รอดรูปแบบเศรษฐกิจชุมชนเป็นหลัก แสดงถึงการเรียนรู้แนวคิดที่อาจแสดงถึงสิ่งที่ แต่สิ่งที่ปรากฏนั้นส่งผลเกิดต่อการเปลี่ยนแปลงลักษณะทัศนคติ และพฤติกรรมให้เป็นไปในรูปแบบที่สังคมยอมรับ รวมถึงพัฒนารูปแบบเฉพาะตนให้ตอบสนองสร้างเหตุผลจากแรงกระตุ้นทางสังคมร่วมสมัยให้กลายเป็นการความต้องการที่จะลอกเลียนแบบพฤติกรรมนั้นๆ ในทางที่เหมาะสมสำหรับการพัฒนาสังคมรูปแบบร่วมสมัย
คำสำคัญ: การพัฒนาศักยภาพพื้นที่, สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเรือนแถว, กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน, ภูมิปัญญาวิถีชุมชน
Abstract
In this research, The Area Potential Development of Vernacular Rowhouse in Floating Markets Central Region to Public Participation Process study of 2 issues from Local identity Vernacular Rowhouse in Floating markets central region to the study of the physical area of the geography that settled the Riverine society in 1707-1932. The relationship between the cultural context and the cultural context.
In the area of the case study of houses in the central river basin “change” or “continuation” of the row house style derived from causes and factors adapting to different behaviors in each local occupation and the adjustment of the house model to the tourism business that is ingrained and spread according to the position of the trading area from the past to the present. directly affecting the persistence of local houses in the central floating market area that can indicate the identity of the ethnic origin and existence is through the adaptation of local cultural traditions to the formation of a diverse sub-group cultural landscape.
Study adaptation through observation of local houses in floating market areas that change the form, area, use and structure. It has consistently shown important issues related to the formation of houses under the cultural context of river basin society. From the relationship between the houses in the floating market area and the people outside the area to the community condition to the comparison of the social hierarchy According to the social influence from people outside the community to the community by seeking benefits in the tourism area It may represent something unintentional or intended to happen to a house identity. The pressure of social influence on the capitalist system of people outside the community This directly affects the change in the way of life that requires generating income from the process of self-development in order to survive the community economy model. Represents the learning of concepts that may represent what but what appears to have resulted in a change in attitude and behavior in a form that is accepted by society as well as developing individual patterns to rationalize the contemporary social impulses into the need to imitate such behaviors in a way that is suitable for the development of contemporary societies.
Keywords: Area Potential Development, Vernacular Rowhouse, Public Participation Process, Wisdom local
References
Armstrong, G. & Kotler, P. (2009). Marketing, an introduction. 9th edtion. New Jersey: Pearson Prentice Hall.
Dale G, Cleaver. (1972). Interior and Numerical Method. volume 1: English 375 pages; ISBN-10 : 0155034316.
Fuller, G.W. (1994). New Product Development from Concept to Marketplace. volume 2 : 36 pages.
Oliver, P. (1997). Encyclopedia of vernacular architecture of the world. volume 1: Cambridge University Press.
Peter Drucker. (2006). The Practice of Management. volume 1: New York 405 pages; ISBN-0-06 091316-9.
Rapoport. (1990). The meaning of the built environment. volume 1: University of Arizona Press.
Speiregen, Paul David. (1965). Urban Design the Architecture of Towns and Cities. 3rd edition, McGraw Hill.
กิตติพงษ์ ล้ออุทัย. (2554). แนวคิดในการอนุรักษ์และพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนกรณีศึกษา: ชุมชนตลาดล่าง ในเขตเมืองเก่าลพบุรี. กรุงเทพฯ: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เกรียงไกร เกิดศิริ. (2559). ชุมชนกับภูมิทัศน์วัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อุษาคเนย์
เจนยุทธ ล่อใจ. (2561). สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น และสภาพแวดล้อมทางวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ศรีศักร วัลลิโภดม. (2559). ลักษณะสำคัญของ“สังคมลุ่มแม่น้ำ”: ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น: แนวคิดและวิธีการ.” [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อ 25 พฤษภาคม 2563 จาก http://lek-prapai.org/home
ศุภโชค สนธิไชย. (2564). รายงานวิจัย การพัฒนาศักยภาพพื้นที่ของเรือนแถวพื้นถิ่นย่านตลาดน้ำภาคกลางสู่กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน. งบประมาณรายได้ปี พ.ศ. 2564 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ประติมา นิ่มเสมอ. (2555). ประเพณีที่เกี่ยวข้องกับสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น. กรุงเทพฯ: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วีระ อินพันทัง. (2550). ปลูกเรือนคล้อยตามผืนดิน ปักถิ่นคล้อยตามสายน้ำ: รวมบทความทางวิชาการว่าด้วยสถาปัตยกรรมและภูมิปัญญาชาวบ้าน. กรุงเทพฯ: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
อรศิริ ปาณินท์ และคณะ. (2543). “ความหลากหลายของเรือนพื้นถิ่นไทย.” เอกสารประกอบการประชุมทางวิชาการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 22-23 มิถุนายน 2543.