2021-v4-1-article5-641009

2021-v4-1-article5-641009

แนวทางปรับปรุงอาคารสถานศึกษาตามเกณฑ์อาคารอนุรักษ์พลังงาน : กรณีศึกษา อาคารเรียนและปฏิบัติการทางเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
Guideline of Educational Building development for Evaluation Energy efficiency. : Case study of Educational Building and Operational Technology at Suan Sunandha Rajabhat University

ศุภโชค สนธิไชย
สาขาวิชาการออกแบบตกแต่งภายในและนิทรรศการ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ศิริวรรณ โรโห
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน จังหวัดนครราชสีมา

บทคัดย่อ
การพัฒนาที่ยั่งยืนเกี่ยวกับการประหยัดพลังงานสำหรับอาคารอาคารสถานศึกษาในปัจจุบัน พบว่าปัญหาส่วนหนึ่งมาจากการออกแบบอาคารที่ไม่คำนึงถึงแนวทางการอนุรักษ์พลังงานของอาคารกรณีศึกษา ให้เป็นไปตามค่ามาตรฐานการประเมินความยั่งยืนทางพลังงานและสิ่งแวดล้อมไทย
งานวิจัยนี้จึงเป็นส่วนหนึ่งของโครงการส่งเสริมการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพในอาคารสถานศึกษา ตามแนวทางปรับปรุงอาคารจากเกณฑ์อาคารอนุรักษ์พลังงาน โดยทดสอบผ่านอาคารกรณีศึกษาอาคารเรียนและปฏิบัติการทางเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา กำหนดแทนค่ามาตรฐานการประเมินความยั่งยืนทางพลังงานและสิ่งแวดล้อมไทย เป็นไปตามหลักเกณฑ์ประเมิน พ.ศ. 2552 โดยใช้โปรแกรม BEC v.1.0.6 เป็นวิธีทดสอบประเมินผลวิเคราะห์เปรียบเทียบ
ผลจากการศึกษาแนวทางพบว่า แนวทางการอนุรักษ์พลังงานของอาคารกรณีศึกษาสามารถปรับปรุงให้เป็นอาคารอนุรักษ์พลังงานให้สอดคล้องตามเกณฑ์มาตรฐานกฎกระทรวง โดยการปรับเปลี่ยนวัสดุกรอบอาคารเลือกวัสดุ ที่มีค่าสัมประสิทธิ์การถ่ายเทความร้อนต่ำ (U-Value) กล่าวคือการเปลี่ยนแปลงวัสดุผนังอาคารด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งจากเดิมเป็นโครงสร้างก่อผนังอิฐมอญครึ่งแผ่นฉาบเรียบทาสี ให้เปลี่ยนแปลงโดยเลือกใช้วัสดุผนังก่ออิฐมวลเบา (ความหนาแน่น 1,280 กก./ลบ.ม.) และการเพิ่มแผงบังแดดโดยใช้วัสดุเป็นแผ่นอลูมิเนียมคอมโพสิท รวมถึงโครงเคร่าเหล็กรูปพรรณพร้อมอุปกรณ์ติดตั้งที่มีน้ำหนักเบาไม่สร้างภาระเรื่องน้าหนักต่อโครงสร้างเดิม และให้สอดคล้องกับรูปแบบเดิมของอาคารที่ได้ออกแบบไว้
ซึ่งจากการปรับปรุงดังกล่าวจะสามารถทำให้อาคารมีค่าการถ่ายเทความร้อนรวมของผนังด้านนอกอาคาร (OTTV) ลดลงร้อยละ 33.52 และผลการใช้พลังงานรวมลดลงถึง 38,495.2 kWh/Year ส่วนด้านงบประมาณการก่อสร้างปรับปรุงอาคารเพื่อพัฒนาสู่อาคารอนุรักษ์พลังงาน หากสามารถปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตามประเด็นที่ได้เสนอแนวทางไว้ในรายละเอียดต่างๆ สำหรับอาคารกรณีศึกษานี้ จะสามารถช่วยให้มหาวิทยาลัยประหยัดงบประมาณในการจ่ายค่าไฟฟ้าได้ถึงประมาณ 162,834.70 บาท/ปี การพัฒนาการออกแบบปรับปรุงอาคารสู่ความเป็นไปได้ในระยะเวลาคืนทุนคือ 6.9 ปีหลังจากการก่อสร้างปรับปรุงอาคาร

คำสำคัญ : การอนุรักษ์พลังงาน ประสิทธิภาพการใช้พลังงาน การประเมินอาคาร ค่ามาตรฐานการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน

Abstract
Sustainable development about energy saving for Educational Building, It is found that part of the problem is from building design that does not take into account the building’s energy conservation guidelines. In accordance with the Thai energy and environmental sustainability assessment standard values.
This research is a part of the promotion of energy efficiency in Educational Building. According to the building improvement guidelines from the energy conservation building criteria. Building energy simulation case study of Educational Building and Operational Technology at Suan Sunandha Rajabhat University. Define of standard values Thai Energy and Environmental Sustainability Assessment. In accordance with the evaluation criteria of 2009 using BEC v.1.0.6 program as Building energy simulation method for evaluating comparative analysis.
The study results building energy conservation guidelines: a case study that can be improved to be an energy conservation building and select materials building envelope with a low heat transfer coefficient (U-Value) to wall building Southwest side. Change to structure of a half-brick wall plastered with a smooth painted to lightweight concrete (Density 1,280 kg/m³) and adding a shading devices of aluminum composite materials in accordance with the original design of the building.
Which from the above improvements will be able to make the building heat transfer value of the exterior wall (OTTV) decreased 33.52% and total energy use decreased 38,495.2 kWh/Year and construction cost for building improvements for development to energy conservation buildings. Change to guideline of Educational Building development for Evaluation Energy efficiency. It will help the university to save cost for paying electricity costs approximately 162,834.70 baht/year. Payback period is 6.9 years after the construction of the building.

Keywords : Energy Conservation, Energy performance, Building Assessment, Building Energy Code. (BEC)

References
[1] กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน. (2555). รายงานการอนุรักษ์พลังงานของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: กระทรวงพลังงาน.
[2] สุนทร บุญญาธิการ. (2542). เทคนิคการออกแบบบ้านประหยัดพลังงานเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีกว่า. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
[3] ชำนาญ บุญญาพุทธิพงศ์. (2549). การศึกษาการออกแบบเชิงปฏิบัติการที่พักอาศัยชั่วคราวสำหรับ นักศึกษาสถาปัตยกรรม. วารสารวิชาการคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
[4] สิงห์ อินทรชูโต. (2549). ปัจจัยที่จำกัดการนำนวัตกรรมด้านการประหยัดพลังงานมาสู่การออกแบบ ก่อสร้างอาคารในประเทศไทย. Proceeding annual report, คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
[5] พันธุดา พุฒิไพโรจน์. (2563). คู่มือการออกแบบอาคารเพื่อการประหยัดพลังงาน. กรุงเทพฯ: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
[6] ชนิกานต์ ยิ้มประยูร. (2556). แนวทางในการพัฒนาโปรแกรมจำลองการใช้พลังงานในอาคารสำหรับ ประเทศไทย. กรุงเทพฯ: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
[7] อรรจน์ เศรษฐบุตร. (2549) สถาปัตยกรรมสีเขียว: การท้าทายเพื่อความยั่งยืน. เอกสารประกอบการสอน, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์.
[8] สถาบันอาคารเขียวไทย. (2555). คู่มือสำหรับเกณฑ์การประเมินความยั􀃉งยืนทางพลังงานและ สิ่งแวดล้อมไทยสำหรับการก่อสร้างและปรับปรุงโครงการใหม่. กรุงเทพฯ: สถาบันอาคารเขียวไทย.
[9] ศูนย์ประสานงานการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน. (2562). คู่มือการใช้งานโปรแกรม BEC v.1.0.6. กรุงเทพฯ: กระทรวงพลังงาน.