แนวทางการออกแบบเครื่องเรือนจากวัสดุพื้นถิ่นสื่อภูมิปัญญาวิถีชุมชน ย่านตลาดน้ำภาคกลาง
Guidelines Furniture Design for Wisdom Local Materials in Community Floating Markets Central Region
ปิยะวรรค์ ปิ่นแก้ว
อาจารย์ประจำสาขาการออกแบบตกแต่งภายในและนิทรรศการ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ศุภโชค สนธิไชย
อาจารย์ประจำสาขาการออกแบบตกแต่งภายในและนิทรรศการ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
อาติยาพร สินประเสริฐ
อาจารย์ประจำ สาขาการวิชาโยธาสถาปัตยกรรม คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
บทคัดย่อ
งานวิจัยในครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อให้ทราบถึงผลสำรวจเกี่ยวกับแนวทางการออกแบบเครื่องเรือนจากวัสดุพื้นถิ่นสื่อภูมิปัญญาวิถีชุมชนย่านตลาดน้ำภาคกลาง โดยพิจารณาพื้นที่ศึกษาจากกลุ่มพื้นที่ตัวอย่างที่ยังคงความชัดเจนในบริบททางวัฒนธรรมเก่าเดิมที่อยู่ร่วมอาศัยในลักษณะรูปแบบชุมชนกลุ่มเศรษฐกิจท้องถิ่น จึงพิจารณาชุมชนลุ่มแม่น้ำเขตพื้นที่คลองอัมพวาที่ยังคงชัดเจนอยู่ร่วมสมัยถึงปัจจุบัน เป็นกรณีพื้นที่กลุ่มตัวอย่าง เพื่อพัฒนาต่อยอดแนวความคิดสู่แนวการออกแบบเครื่องเรือนประเภทให้แสงสว่าง สำหรับอาคารชุดพักอาศัย (คอนโดมิเนียมในเขตชุมชนเมือง) กำหนดสัมภาษณ์กลุ่มบุคคลที่อาศัยอยู่ในชุมชนลุ่มแม่น้ำเขตพื้นที่คลองอัมพวา จากสภาพปัจจุบันและบุคคลที่เข้ามาท่องเที่ยวในพื้นที่ชุมชน จึงพบประเด็นที่สำคัญส่งผลต่อแนวทางในการออกแบบผลิตภัณฑ์
พบว่าปัจจัยแวดล้อมที่สามารถทำให้รูปทรงของผลิตภัณฑ์นั้นๆต้องเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ประเด็นที่สำคัญคือความเปลี่ยนแปลงในสังคมแบบร่วมสมัยที่สอดคล้องต่อบริบททางวัฒนธรรมร่วมของชุมชุนในพื้นที่ การคำนึงถึงการใช้สอย อาจจะไม่ใช่ปัจจัยต่อพื้นฐานแนวทางการออกแบบผลิตภัณฑ์เสมอไปในปัจจุบัน ใน 3 ประเด็นคือ กรอบแนวคิดสำหรับการออกแบบเครื่องเรือนประเภทให้แสงสว่าง การเคลื่อนย้ายขนส่งของผลิตภัณฑ์ในความสัมพันธ์ต่อการนำไปใช้ และคุณค่าในการออกแบบต่ออัตลักษณ์ในพื้นที่
ทั้งนี้ควรคำนึงถึงความเฉพาะตัวของรูปทรงที่สื่อถึงอัตลักษณ์เชิงพื้นที่ กายภาพทางสิ่งแวดล้อมในพื้นที่เข้า
ร่วมด้วยเสมอ เป็นสิ่งหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมให้ผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบนั้น มีความสร้างสรรค์แตกต่างมากชัดเจนยิ่งขึ้น รวมถึงราคา และการขนส่ง ติดตั้งที่ง่ายและปรับเปลี่ยนในตำแหน่งที่ต่อการต่อความเหมาะสมในกิจกรรมนั้นๆ ถือเป็นสิ่งหนึ่งสำคัญต่อการพิจารณาเชิงการตลาดเพื่อพัฒนาสู่การขยายฐานการผลิตที่ผ่านการคำนึงถึงจุดคุ้มต้นทุน
คำสำคัญ: ภูมิปัญญา วัสดุพื้นถิ่น ชุมชนตลาดน้ำ การออกแบบเครื่องเรือน
ABSTRACT
In this research, Qualitative Research Methodology of Guidelines furniture design for wisdom local materials in Community floating markets central region and considering the study area from the sample area that is still clear in the old cultural context, living together in the form of a community, a local economic group. Therefore, consider the river basin communities in the Amphawa Canal area that are still evident in the present day. is the case of the sample area to develop the concept to the design of lighting furniture. For residential condominiums
(Condominiums in urban communities) interviewing groups of people living in river basin communities in Khlong Amphawa area from the current condition and people who come to travel in the community area Therefore found important issues affecting the approach to product design.
That environmental factors can cause the shape of the product to change constantly. An important issue is the change in contemporary society in accordance with the common cultural context of the local communities. consideration of usability May not always be a factor in the fundamentals of the current product design approach in 3 issues: 1. Conceptual framework for
designing lighting furniture. 2. The transport movement of the product in relation to its use. And 3. Design value and space identity area.
Should take into account the uniqueness of the shape that conveys the spatial identity. The physical environment in the area is always present. It’s one thing that helps promote the product that is designed. There are more distinct creative differences, including price and transportation, easy installation and adjustment in position to fit in the activity. It is one of the important considerations for marketing in order to develop into production base expansion through cost-effectiveness considerations.
Keywords: Wisdom, local materials, Community floating markets, Furniture Design
References
ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2541). กลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อตอบสนองความพึ่งพอใจของผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: ดวงกมลสมัย.
วรธรรม อุ่นจิตติชัย. (2546). คุณสมบัติและการใช้ประโยชน์ไม้พญาสัตบรรณ. กรุงเทพฯ: สำนักวิจัยเศรษฐกิจและผลิตผลป่าไม้ กรมป่าไม้.
ชลูด นิ่มเสมอ. (2554). องค์ประกอบของศิลปะ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ อมรินทร์.
ตระกูลพันธ์ พัชรเมธา. (2557). การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากขี้เลื่อยไม้ยางพารา. ขอนแก่น: คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา.
จิตพนธ์ ชุมเกตุ (2560). การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางการจัดการชุมชนอย่างยั่งยืนของชุมชนไทยมุสลิม อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี. กรุงเทพฯ: คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
กัมพล แสงเอี้ยม. (2560). การศึกษาแนวทางการออกแบบเครื่องเรือนจากเศษไม้กลึง. ลำปาง: คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Dale G, Cleaver,. (1972). Interior and Numerical Method. volume 1: English: 375 pages; ISBN-10 : 0155034316.
Fuller, G.W. (1994). New Product Development from Concept to Marketplace. volume 2: 36 pages.
Peter Drucker. (2006). The Practice of Management. volume 1: New york: 405 pages; ISBN-0-06 091316-9.
Armstrong, G. & Kotler, P. (2009). Marketing, an introduction. 9 th ed. New Jersey: Pearson Prentice Hall.
Macmillan, Thomas T. (1971). The Delphi Technique. Paper Presented at the annual meeting of the California Junior Colleges Associations Committee on Research and Development, Monterey, California. (May 1971), 3-5.