2021-v4-2-bee-article001

2021-v4-2-bee-article001

อัตลักษณ์สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเรือนแถวย่านตลาดน้ำภาคกลาง
Local Identity Vernacular Rowhouse in Floating Markets Central Region

ศุภโชค สนธิไชย
คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ลัคนา อนงค์ไชย
คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาอัตลักษณ์สถาปัตยกรรมจากเรือนแถวลุ่มแม่น้ำ ผ่านการเก็บข้อมูลลงพื้นที่สำรวจสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเรือนแถวย่านตลาดน้ำภาคกลาง ในขอบเขตการศึกษาอยู่ 2 กลุ่มพื้นที่คือ กลุ่มเรือนแถวย่านตลาดน้ำด้านทิศตะวันออกและด้านทิศตะวันตก เพื่อเป็นพื้นที่ตัวแทนศึกษารูปแบบ ลักษณะและองค์ประกอบของเรือนในแต่ละช่วงอายุ โดยสำรวจภาคสนามเพื่อเก็บข้อมูลพื้นฐานและทำการคัดเลือกเรือนพื้นถิ่นในแต่ละชาติพันธุ์
จากการศึกษาพื้นที่ทางกายภาพของภูมิศาสตร์ที่ตั้งถิ่นฐานสังคมลุ่มแม่น้ำ ในช่วงปี พ.ศ. 2250-2475 บริเวณย่านตลาดน้ำภาคกลาง สำรวจพบพื้นที่ตัวแทนสำคัญที่สามารถอธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างบริบททางภูมิทัศน์วัฒนธรรมกับบริบททางวัฒนธรรม ที่ผ่านช่วงเปลี่ยนแปลงสมัยการปกครอง ภายใต้ลักษณะเฉพาะของสังคมลุ่มแม่น้ำใน 2 ฝั่งด้านทิศตะวันออกคือ ตลาดน้ำบ้านใหม่ จังหวัดฉะเชิงเทรา และฝั่งด้านตะวันตกคือ ตลาดน้ำอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ยังคงความเป็นอัตลักษณ์เก่าเดิมจากบริบททางวัฒนธรรมจีนที่สืบต่อจากบรรพบุรุษในลักษณะรูปแบบระบบเครือญาติ และปรากฏลักษณะภูมิปัญญาทางสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นที่สื่อผ่านเรือนแถวย่านตลาดน้ำ ในลักษณะเฉพาะของสังคมลุ่มแม่น้ำ ตามรูปแบบแนวคิดการเปลี่ยนถ่ายทางวัฒนธรรม

คำสำคัญ: สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น อัตลักษณ์ในสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น เรือนแถว ตลาดน้ำ สังคมลุ่มแม่น้ำ

ABSTRACT
In this research, Local identity Vernacular Rowhouse in Riverine of survey Research into the area to explore the Vernacular Rowhouse around the Floating markets central region of 2
area group.(Floating markets central region Rowhouse east and Rowhouse west) and select indigenous houses in each ethnic group.
From the study of the physical area of the geography that settled the Riverine society in 1707-1932. Explain the relationship between the cultural landscape context and the cultural context to through the transition period Under the characteristics of the river basin society on both sides of the east is Ban Mai Floating Market Chachoengsao Province and west side is Amphawa Floating Market Samut Songkhram Province. Remains the same old identity from the Chinese cultural context inherited from ancestors in the form of kinship system and appears the local architectural wisdom that is communicated through houses around the floating market area in the characteristics of Cultural context in Riverine society of Transferability cultural.

Keywords: Vernacular Architecture, Local identity in Vernacular, Vernacular Rowhouse, Floating

References
Oliver, Paul. (1997). Encyclopedia of vernacular architecture of the world. volume 1: Cambridge University Press.
Rapoport, Amos. (1990). The meaning of the built environment. volume : University of Arizona Press.
Speiregen, Paul David (1965). Urban Design the Architecture of Towns and Cities.
กิตติพงษ์ ล้ออุทัย. (2554). แนวคิดในการอนุรักษ์และพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนกรณีศึกษา: ชุมชนตลาดล่าง ในเขตเมืองเก่า ลพบุรี. กรุงเทพฯ: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เกรียงไกร เกิดศิริ. (2559). ชุมชนกับภูมิทัศน์วัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อุษาคเนย์.
คณิตา เลขะกุล. (2556). เมืองแม่กลอง จังหวัดสมุทรสงคราม: ประวัติศาสตร์สมุทรสงคราม ความเป็นอยู่และประเพณีและภูมิ ประเทศและการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: บริษัท ด่านสุทธาการพิมพ์ จำกัด.
จันทนา เอี่ยมวิลัย. (2556). ภูมิทัศน์วัฒนธรรมของเมืองเก่าลพบุรี. กรุงเทพฯ: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เจนยุทธ ล่อใจ. (2561). สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น และสภาพแวดล้อมทางวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ประติมา นิ่มเสมอ. (2555). ประเพณีที่เกี่ยวข้องกับสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น. กรุงเทพฯ: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ประสงค์ เอี่ยมอนันต์. (2534). แนวทางในการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่าลพบุรี. กรุงเทพฯ: ภาควิชาการออกแบบและวางผังชุมชนเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วีระ อินพันทัง. (2550). ปลูกเรือนคล้อยตามผืนดิน ปักถิ่นคล้อยตามสายน้ำ: รวมบทความทางวิชาการว่าด้วยสถาปัตยกรรม และภูมิปัญญาชาวบ้าน. กรุงเทพฯ: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ศรีศักร วัลลิโภดม. (2559). ลักษณะสำคัญของ “สังคมลุ่มแม่น้ำ”: ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น: “แนวคิดและวิธีการ.” เข้าถึงเมื่อ 25 พฤษภาคม 2563 จาก http://lek-prapai.org/home
อรศิริ ปาณินท์ และคณะ. (2543). “ความหลากหลายของเรือนพื้นถิ่นไทย.” เอกสารประกอบการประชุมทางวิชาการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 22-23 มิถุนายน 2543 กรุงเทพฯ: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.