2019-v2-1-article7

2019-v2-1-article7

อนุสรณ์สถานพระเทพวิทยาคม: การออกแบบสถาปัตยกรรมเพื่อความยั่งยืน

ชูพงษ์ ทองคำสมุทร
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

บทคัดย่อ
‘อนุสรณ์สถานพระเทพวิทยาคม’ (หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ) เป็นอาคารที่มีการออกแบบเพื่อใช้สำหรับเป็นอนุสรณ์ในการพิธีพระราชทางเพลิงศพพระเทพวิทยาคมเป็นกรณีพิเศษ เป็นสถานที่สำหรับรวบรวมประวัติเพื่อการเผยแพร่ให้แก่อนุชนรุ่นหลังได้ทำการศึกษาระลึกถึงคุณูปการของท่าน และเพื่อใช้สาหรับเป็นสถานที่สำหรับประกอบพิธีกรรมอื่นๆ ที่มีความเกี่ยวข้อง ออกแบบโดยคณะผู้ออกแบบจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยในการออกแบบจะใช้แนวทางการออกแบบสถาปัตยกรรมเพื่อความยั่งยืน ซึ่งประกอบไปด้วย (1) การคำนึงถึงการอนุรักษ์พลังงานและทรัพยากร (2) การลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (3) การคำนึงถึงคุณภาพชีวิตของผู้ใช้อาคาร และ (4) การบูรณาการการออกแบบสถาปัตยกรรม โดยแนวคิดดังกล่าวนี้ยังไม่ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในการออกแบบอาคารประเภทอนุสรณ์สถาน ผลการศึกษาจากการออกแบบพบว่า แนวทางการออกแบบเพื่อความยั่งยืนนี้สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการออกแบบอาคารประเภทดังกล่าวนี้ได้เป็นอย่างดี

คำสำคัญ: การออกแบบอาคาร, การออกแบบเพื่อความยั่งยืน, ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

Abstract
The Monumental Building of Prathep – widhayakhom (Khoon Parisutho, venerable monk) is designed for the memory of his cremation ceremony, for people to study his innumerable benefactions, and for other related activities. This building is designed by Faculty of Architecture, Khon Kaen University team and this building design have been related to “Sustainable Design Concept” which comprised of (1) Energy and Resource Conservation (2) Environment Impact Minimizing (3) Indoor Environmental Quality and (4) Design Integration. At current, This sustainable concept is not popular for architects and designer for monumental building. From this result of this study showed, this conceptual design can be efficiently used for this type of building.

Keywords: Architectural Design, Sustainable Design, Environmental Impact

References
[1] ชูพงษ์ ทองคำสมุทร. (2554). ภาวะโลกร้อนกับการออกแบบสถาปัตยกรรม. ขอนแก่น: โรงพิมพ์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
[2] อรรจน์ เศรษฐบุตร. (2549). สถาปัตยกรรมยั􀃉งยืนและนิเวศวิทยาคาร. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
[3] สถาบันอาคารเขียวไทย. (2555). คู่มือสำหรับเกณฑ์การประเมินความยั่งยืนทางพลังงานและ สิ􀃉งแวดล้อมไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
[4] K. Daniel. (1997). The technology of ecological building: basic principles and measures, examples and ideas. Basel: Birkhäuser Verlag.
[5] อรรจน์ เศรษฐบุตร. (2551). “สถาปัตยกรรมสีเขียว: การท้าทายเพื่อความยั่งยืน”, อาษา: วารสารสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์, ปีที่ 10 ฉบับที่ 6, หน้า 65-71.
[6] วิรดา ดีราษฎร์วิเศษ และ ชูพงษ์ ทองคำสมุทร. (2556). “อิทธิพลของช่องเปิดและวัสดุอาคารต่อภาระการ ทำความเย็นของระบบปรับอากาศ”, วารสารวิชาการคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย ขอนแก่น ประจำปี 2556, ปีที่ 12 ฉบับที่ 2, หน้า 60-73.
[7] ชูพงษ์ ทองคำสมุทร. (2557). “การเปลี่ยนแปลงภาระการทำความเย็นของอาคารที่มีผลมาจากชนิดของ วัสดุและอัตราส่วนพื่นที่ช่องเปิดต่อพื้นที่ผนังอาคาร กรณีศึกษา จังหวัดขอนแก่น”, วารสาร วิชาการคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำปี 2557, ปีที่ 13 ฉบับที่ 1, หน้า 99-114.