การศึกษาการย้ายถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์ไทเบิ้งในลุ่มแม่น้าชี
ศุภโชค สนธิไชย
สาขาวิชาการออกแบบตกแต่งภายในและนิทรรศการ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
อาติยาพร สินประเสริฐ
สาขาวิชาโยธาสถาปัตยกรรม คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายสถานภาพของผลงานวิชาการการศึกษาที่เกี่ยวข้องการย้ายถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์ไทเบิ้งในลุ่มแม่น้าชี โดยการศึกษากลุ่มตัวอย่างผลงานทางวิชาการที่มีการเผยแพร่ตั้งแต่ พ.ศ. 2527-2560 จำนวน 35 รายการ ซึ่งประกอบด้วย หนังสือวิชาการ รายงานการวิจัย บทความ เอกสารประกอบ การประชุมสัมมนา และวิทยานิพนธ์ การนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล ในด้านความต่างด้านมิติความสัมพันธ์ของพื้นที่ต่อการย้ายถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์ไทเบิ้งในลุ่มแม่น้ำชี และพื้นที่ที่มีความเชื่อมโยงทางวัฒนธรรม รวมถึงการตั้งข้อสันนิษฐานและประเด็นการศึกษาในมิติองค์ความรู้ที่แตกต่างกัน เพื่อเปรียบเทียบสร้างข้อสันนิษฐานการย้ายถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์และความสำคัญเกี่ยวกับภูมิทัศน์ทางวัฒนธรรม โครงสร้างทางสังคม และเศรษฐกิจ ที่เชื่อมโยงกับการปกครองในช่วงสมัย ซึ่งสามารถจำแนกแนวทางการศึกษาที่เกี่ยวข้องในประเด็นที่ศึกษาได้ ดังนี้ 1)ข้อมูลการจัดการพื้นที่ 2) ปัจจัยนิเวศวัฒนธรรม 3) ภูมิทัศน์วัฒนธรรมของพื้นที่ประวัติศาสตร์ที่ส่งผลต่อลักษณะของกลุ่มชนหรือกลุ่มชาติพันธุ์
จากการศึกษาข้อมูลทั้ง 35 รายการ พบว่า ประเด็นที่เชื่อมโยงความสัมพันธ์ของพื้นที่ได้ ดังนี้ ชุดข้อมูลที่สามารถศึกษาเฉพาะพื้นที่บริบทวัฒนธรรมและศึกษารูปทรงเรือน แบ่งการศึกษาข้อมูลออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 1) ชุดข้อมูลการย้ายถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์ไทเบิ้งในลุ่มแม่น้าชี 12 รายการ 2) ชุดข้อมูลวิถีวัฒนธรรมบริบทกิจกรรมชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ไทเบิ้ง 23 รายการ และได้ข้อสันนิษฐานจากการศึกษาว่า กลุ่มชาติพันธุ์ไทยเบิ้งมีการย้ายถิ่นฐานอย่างกระจัดกระจาย แต่ส่วนมากอาศัยอยู่ในอยู่ในเขตรอยต่อของภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย จึงทำให้มีลักษณะวัฒนธรรมผสมผสาน เพราะเป็นชุมชนที่มีปฏิสัมพันธ์กับทั้งสองภูมิภาค จากการศึกษาความสัมพันธ์ของย้ายถิ่นฐานของกลุ่มชาติพันธุ์ไทเบิ้งในบริบทพื้นที่อยู่อาศัยที่แตกต่างกัน ทาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากเดิม ทั้งทางด้านขนบธรรมเนียม ประเพณีดั้งเดิมที่เลือนหายไป รวมถึงรูปแบบของสถาปัตยกรรมที่ปรับชีวิตความเป็นอยู่ ส่งผลต่อเรือนที่มีการปรับเปลี่ยนต่อเติมพื้นที่ โดยเฉพาะใช้วัสดุและเทคโนโลยีก่อสร้างสมัยใหม่เข้ามาทดแทน
คำสำคัญ: ไทเบิ้ง, ลุ่มน้ำชี, การย้ายถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์, สถานภาพผลงานวิชาการ
Abstract
This article aims to explain a status of academic outputs in study of Migration Ethnics Groups of Boeng -Tai in Chi River Basin. The review of this article is based on 35 samples of academic outputs published during 1984-2017 A.D., i.e. texts, research reports, articles, conference papers and theses, then to present all analyzed data by description In difference of Spatial Ability space relationship to migration a study of Migration Ethnics Groups of Boeng -Tai in Chi River Basin and some related areas assumption and education in different of Spatial Ability to migration speculation of ethnic groups. The importance of the cultural landscape (Cultural landscape) The social, cultural, and economic structures linked to government in the period Which has identified relevant educational guidelines in the study found: 1)Spatial Organization 2)Culture Ecology 3)Historic Sites that affect Characteristics of ethnic groups or ethnic groups(Ethnographic Landscape) There are various study approaches and some related areas into 35main contents, study to area and cultural contexts from the vernacular house study overallobjectives of study Migration Ethnics Groups of Boeng -Tai in Chi River Basin into 2 types ofinformation. 1) Migration Ethnics Groups of Boeng -Tai in Chi River Basin into 12 main contents,2)Spatial Ability of Migration Ethnics Groups of Boeng –Tai into 23 main contents, to promotean interdisciplinary study.
And obtained a rationale from the study that Migration Ethnics Groups of Boeng -Tai have displaced immigrants. But most of them live in the boundaries of the central and northeastern regions of Thailand. Thus, resulting in an integrated culture Because it is a community that interacts with both regions.
From the study of Migration Ethnics Groups of Boeng -Tai in different residential areas Causing changes from the original Both in tradition the traditional tradition that fades away. Including the style of architecture that adjusts the lives Affecting the house that has been modified to add more space by using modern materials and construction technology to replace.
Keywords: Boeng –Tai, Chi River Basin, Migration Ethnics Groups, Status of Academic Outputs
References
[1] วิโรฒ ศรีสุโร, “ข้อสันนิษฐานว่าการตีหม้อที่มีอยู่ในพื้นที่ต่างๆ ของภาคอีสานนั้นส่วนใหญ่เป็นคนที่อพยพมาโคราชทั้งสิ้นจนมีคำกล่าวว่า ไทโคราชชอบตีหม้อแต่ลาวชอบทอผ้า”, 2528.
[2] วิชิต คลังบุญครอง และไพโรจน์ เพชรสังหาร, เฮือนอีสาน. ในกรรมาธิการสถาปนิกอีสาน (บรรณาธิการ), สถาปัตยกรรมอีสาน, กรุงเทพฯ: เมฆาเพลส, 2535.
[3] ชำนาญ บุญญาพุทธิพงศ์, ที่พักอาศัยชั่วคราวสำหรับชุมชนภาคอีสาน กรณีศึกษาจังหวัดขอนแก่น. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2535.
[4] บันเทิง พูลศิลป์ , ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมอีสาน. ในกรรมาธิการสถาปนิกอีสาน, 2530.
[5] ธิติ เฮงรัศมี และคณะ, การศึกษารวบรวมรูปแบบบ้านพักอาศัยในชนบทอีสานแถบลุ่มน้ำชี จังหวัดขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด และยโสธร. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2536.
[6] วิชิต คลังบุญครอง, สถาปัตยกรรมบ้านพักอาศัยพื้นเมืองของชาวไทยอีสานกลุ่มต่างๆ ไทย-ผู้ไท. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2535.
[7] ธาดา สุทธิธรรม, การอนุรักษ์มรดกสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นอีสานในแนวทางการมีส่วนร่วม. มูลนิธิภูมิปัญญา สิงแวดล้อมวัฒนธรรมและศิลปะเอเชีย, 2554.
[8] ถนอม ตะนา และคณะ, การขยายตัวของชุมชนเมืองลุ่มน้ำชี กรณีศึกษา เมืองร้อยเอ็ดและยโสธร. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, 2554.
[9] กาญจนา ตันสุวรรณรัตน์, สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นโคราช. นครราชสีมา: รจนาการพิมพ์, 2556.