คุณสมบัติเชิงอุณหภาพของต้น “ จามจุรี ”
The Thermal Property of “ Jamjuree ”
ชูพงษ์ ทองคำสมุทร
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
บทคัดย่อ
พืชพรรณทางธรรมชาติมีส่วนเกี่ยวข้องกับการออกแบบสถาปัตยกรรมในส่วนของอาณาบริเวณและพื้นที่สีเขียวโดยรอบ โดยเฉพาะในเกณฑ์ประเมินอาคารเขียวทุกเกณฑ์มีความเกี่ยวข้องกับต้นไม้และพืชคลุมดิน จากการศึกษาพบว่าต้นไม้นั้นมีคุณสมบัติเชิงอุณหภาพที่สำคัญโดยเฉพาะต้นไม้ที่มีลักษณะพิเศษเฉพาะตัว ได้แก่ ต้น “จามจุรี” โดยจากการคำนวณค่าในสมการที่เกี่ยวข้องพบว่าการปลูกต้นไม้ชนิดนี้จะช่วยทำให้ (1) เกิดร่มเงาที่ช่วยลดการสะสมความร้อนที่พื้นดินได้อย่างมีประสิทธิภาพช่วยลดปรากฏการณ์เกาะความร้อน (2) ทำให้อุณหภูมิผิวดินลดลงส่งผลโดยตรงต่อสภาวะสบายทางอุณหภาพของมนุษย์ (3) ทำให้อุณภูมิอากาศโดยรอบลดลงช่วยลดภาระการทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศลงได้ (4) การหุบใบของต้นจามจุรีที่มีลักษณะเฉพาะตัวทำให้การแลกเปลี่ยนรังสีความร้อนกับท้องฟ้าในเวลากลางคืนมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ส่งผลให้อุณหภูมิใต้ต้นไม้ในเวลากลางคืนมีค่าต่ำกว่าต้นไม้ชนิดอื่น ซึ่งจะช่วยลดภาระการทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศในอาคารที่มีการปรับอากาศ และส่งผลถึงสภาวะสบายทางอุณหภาพของมนุษย์โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอาคารที่ไม่มีการใช้เครื่องปรับอากาศ
คำสำคัญ: ต้นไม้ / พืชพรรณธรรมชาติ / ที่ตั้งและอาณาบริเวณ / การปรับสภาพแวดล้อม
Abstract
Trees and Vegetation have an important role in architectural design especially in site and landscape aspect, All of green building index define this topic to be a major part. From former study, trees have a useful thermal property especially “Jamjuree” (Samanea saman Jacq Merr.). These thermal properties from this calculation are; (1) The shading from this tree can decrease the heat absorption on the ground that can reduce the heat island effect (2) Its shade minimize the surface temperature that improve a human thermal comfort. (3) It can reduce the air temperature around the building, the cooling load of air conditioning system is decrease. (4) A gorged leave of Jamjuree trees can increase the long wave radiation from the ground to sky that can reduce the air temperature under the tree at nighttime, by this reason, the cooling load is decrease in air-conditioned buildings and improve the human thermal comfort in passive buildings.
Keywords: Trees / Vegetation / Site and Landscape / Climatic Modification
References
[1] สุนทร บุญญาธิการ, บ้านชีวาทิตย์ บ้านพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อคุณภาพชีวิต ผลิตพลังงาน. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547.
[2] ชูพงษ์ ทองคำสมุทร, ภาวะโลกร้อนกับการออกแบบสถาปัตยกรรมยั่งยืน. ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2557.
[3] V. Olgyay, Design with Climate Bioclimatic Approach to Architectural Regionalism. 4th ed. London: Princeton University Press, 1973.
[4] America Society of Heating Refrigerating and Air Conditioning Engineerings, ASHRAE Handbook Fundamental. I-P Edition. Atlanta Georgia: Standard Press, 2015.
[5] P.O. Fanger, Thermal Comfort. United States of America: McGraw-Hill Book Company, 1970.
[6] Stein, Benjamin and Reynolds, Mechanical and Electrical Equipment for Buildings. 9th ed. United States of America: John Wiley & Sons. Inc., 2000.