2022-v5-1-bee-article002

2022-v5-1-bee-article002

การพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อช่วยเทียบสีในงานออกแบบสถาปัตยกรรม
Computer Software Development for Color Matching in Architectural Design

สัญชัย สันติเวส
อาจารย์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ฐานิศวร์ เจริญพงศ์
รองศาสตราจารย์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กวีไกร ศรีหิรัญ
รองศาสตราจารย์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

บทคัดย่อ
การกำหนดสีให้อาคารเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญในงานออกแบบสถาปัตยกรรม ผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์สีสำหรับทาภายในและภายนอกอาคารมีการจัดเป็นชุดรายการสีที่นิยมใช้ให้สถาปนิกหรือผู้ออกแบบและเจ้าของโครงการเกิดความสะดวกในการเลือกสีให้แก่อาคารเพื่อกำหนดลงในแบบก่อสร้างอาคาร ระบุเป็นยี่ห้อ รหัส และคุณสมบัติของสี ต้องมีการระบุข้อความ “หรือเทียบเท่า” เพื่อให้ผู้รับเหมาก่อสร้างสามารถเลือกสีของยี่ห้ออื่นหรือรหัสอื่นที่มีคุณสมบัติเทียบเท่ามาเสนอแก่สถาปนิกหรือเจ้าของโครงการเพื่อขออนุมัติเปลี่ยนรายการสีที่ได้เลือกมาใหม่ เนื่องจาก รายการสีที่กำหนดไว้อาจไม่มีจำหน่ายในท้องตลาด หรือไม่สามารถใช้สีตามที่ระบุไว้ได้ ต้องมีการเปลี่ยนยี่ห้อและรหัสสี ซึ่งการเปลี่ยนยี่ห้อและรหัสสีต้องมีการนำรายการสีมาเปรียบเทียบ ดังนั้น เพื่อให้เกิดความสะดวกแก่สถาปนิกและผู้รับเหมา งานวิจัยจึงได้พัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อช่วยในการเทียบค่าสี โดยใช้วิธีรวบรวมรายการสียี่ห้อต่างๆ ที่มีในท้องตลาด จัดทำเป็นฐานข้อมูล ใช้เทคนิคการเทียบสีด้วยวิธีการใช้แบบจำลองสีเอชเอสแอล (HSL) การคำนวณเพื่อเทียบสีด้วยคอมพิวเตอร์ได้ใช้วิธีกำหนดตำแหน่งสีให้อยู่ในระบบพิกัด และใช้การวัดระยะทางจากตำแหน่งพิกัดของสี เพื่อเทียบหาสีที่ใกล้เคียงที่สุด จากการทดสอบโปรแกรมที่ถูกพัฒนาขึ้น สามารถเทียบสีได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในงานออกแบบสถาปัตยกรรมได้

คำสำคัญ: การพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์, งานออกแบบสถาปัตยกรรม, การเทียบสี

Abstract
Defining for building colors is an important in architectural design. The manufacturers and distributors of paint products for interior and exterior paints are organized into a list of popular colors. They are for architects or designers and project owners to find it convenient to choose colors for buildings and determine the construction drawings. They are specifying the brand, code and color properties which must specify that “or equivalent” into the construction drawings. Contractors can choose the color of another brand or another code with equivalent qualifications to propose to the architect or project owner to approve for use in the construction. Nevertheless, the specified color list may not be available in the market or unable to use the color as specified The brand and color code must be changed that requires comparison of the color list. The research has developed a computer application to help compare the color values. It made by using the method of collecting the list of different brands of color available in the market. It made a database and color calibration technique using the HSL color model. Color calibration by computer calculations used to determine the color position in the coordinate system. They used to measure the distance from the coordinates of the color to compare the closest colors. The result of the testing software that was developed able to accurately compare colors can be applied in architectural design.

Keywords: Computer software development, Architectural design, Color matching

References
Adobe Inc. (2004). Adobe Photoshop [computer program]. California: Adobe. Accessed January 1, 2004. Available from http://www.adobe.com
Jirousek, C. (1995). Art, Design, and Visual Thinking, Color, Value and Hue. Accessed October 18, 2003. Available from http://char.txa.cornell.edu
Paris, J. (2002). Colors and MapInfo. [online] Accessed October 8, 2002. Available from https://georezo.net/jparis/MI_Enviro/Colors/colors_and_mapinfo
Microsoft Corporation. (2004). Microsoft Visual Basic 6.0 [computer program]. Accessed January 1, 2004. Available from http://www.microsoft.com
Watts, P. (2003). Working with RGB and HLS Color Coding Systems in SAS Software. SAS Conference Proceedings: SAS Users Group International 28, March 30 – April 2, 2003. Accessed February 27, 2004. Available from http://www2.sas.com/proceedings/sugi28/234-28.pdf
โกสุม สายใจ. (2536). สีและการใช้สี. กรุงเทพฯ : กุล พริ้นติ้ง.
บุญเลิศ ชุตินิมิตกุล. (2529). การศึกษาพฤติกรรมการซื้อสีทาบ้านของผู้บริโภคขั้นสุดท้ายในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาพานิชยศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาการตลาด บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปิยานันต์ ประสารราชกิจ. (2543). ทฤษฎีสี และ การออกแบบตกแต่งภายใน. กรุงเทพฯ : พริกหวาน กราฟฟิค จำกัด.
สมจิต กลับแสง. (2539). เครื่องมือจัดการสี. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สัญชัย สันติเวส. (2546). โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยเทียบสีและกำหนดอัตราส่วนผสมของสีในงานออกแบบสถาปัตยกรรม. วิทยานิพนธ์สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.