2021-v4-2-bee-article005-641230

2021-v4-2-bee-article005-641230

ศูนย์การเรียนรู้รับมือภัยพิบัติตามรอยเลื่อนแผ่นดินไหวจังหวัดเชียงราย
Arrangement Disaster Earthquake Learnings Center on Chiang Rai Fault Line

พงศ์ตะวัน นันทศิริ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
มณีรัตน์ ภาจันทร์คู
อาจารย์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
ศักดิธัช เสริมศรี
อาจารย์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
กฤษณะพันธุ์ ตันเจริญรัตน์
อาจารย์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
เขมวิชญ์ วรรณศิริ
อาจารย์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

บทคัดย่อ
จังหวัดเชียงรายตั้งอยู่บนกลุ่มรอยเลื่อน 5 กลุ่ม มีการคาคการณ์ถึงโอกาสที่จะเกิดแผ่นดินไหวในระดับความรุนแรงอยู่ที่ 4.9-6.9 ตามมาตราริกเตอร์ จังหวัดเชียงรายเคยเกิดแผ่นดินไหวในระดับ 6.3 ตามมาตราริกเตอร์ สร้างความเสียหายต่อสิ่งปลูกสร้าง การเตรียมการความพร้อมรับมือภัยพิบัติแผ่นดินไหว จึงเป็นส่วนสำคัญในการที่จะลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้ โดยการสร้างความรู้ความเข้าในการเตรียมความพร้อมสำหรับรับมือการเกิดภัยพิบัติแผ่นดินไหวที่อาจจะเกิดขึ้น
บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาเพื่อการออกแบบและก่อสร้างศูนย์การเรียนรู้รับมือภัยพิบัติตามรอยเลื่อนแผ่นดินไหวจังหวัดเชียงราย เพื่อเป็นสถานที่เรียนรู้ในการรับมือภัยพิบัติแผ่นดินไหว ประกอบด้วย นิทรรศการที่เกี่ยวกับแผ่นดินไหว ห้องจำลองการเกิดแผ่นดินไหว ห้องแสดงพื้นที่เกิดแผ่นดินไหวแบบตามเวลาจริง เทคโนโลยีนำเสนอข้อมูลแผ่นดินไหว การแสดงบ้านพักชั่วคราวสำหรับผู้ประสบภัยและห้องอบรมให้ความรู้โดยมีหลักสูตรเรียนรู้ในด้านเตรียมความพร้อมรับมือ เพื่อสร้างองค์ความรู้แบบการมีส่วนร่วมผ่านศูนย์การเรียนรู้รับมือภัยพิบัติตามรอยเลื่อนแผ่นดินไหวฯ ผลการศึกษานี้ได้นำก่อสร้างอาคารจริงเพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของคนในพื้นที่เสี่ยงภัยแผ่นดินไหวและผู้ที่สนใจ

คำสำคัญ: ศูนย์การเรียนรู้, แผ่นดินไหว, ผู้ประสบภัย

Abstract
Chiang Rai province is located on five fault zones which can possibly cause earthquake magnitude of about 4.9-6.9 of the Richter scale and can totally damage buildings and permanent residences. Preparation for earthquake disaster before, during, and after earthquake occurring is therefore essential to reduce the damage in the future by enhancing knowledge and understanding in the preparation for earthquake disasters that may occur.
This article aimed to study the design and construction of the Earthquake Disaster Learning Center along the Chiang Rai earthquake faults to be a learning center dealing with earthquake disasters. The center displayed Earthquake exhibition, Real-time earthquake, technology for presenting earthquake information (Application), temporary homes for victims (a real-size), and an educational training room with training courses for disaster preparation. These were to build up body of knowledge base on participatory learning through Earthquake Disaster Learnings Center. The results of this study were temporary houses constructed to be learning center for people in the area and those who are interested in it this matter.

Keywords: Learning center, Earthquake, Victims

References
Globetrot. (2009). World Map of Fault Lines. Accessed 24 Jun 2021, Available From https://printable-maps.blogspot.com/2009/04/world-map-of-fault-lines.html.
Matt Williams. (2010). What are Earthquake Fault Lines? Accessed 24 Jun 2021, Available From https://www.universetoday.com/76183/earthquake-fault-lines.
REI Software. (2020). STAAD.Pro CONNECT Edition [Computer program]. Accessed 24 Jun 2021, Available From https://www.reisoftwareth.com/products-detail/STAAD/STAAD-Pro.
Robert. J. Lillie. (2005). Tectonic Plates: Divergent, Convergent and Transform Boundaries. Accessed 24 Jun 2021, Available From https://www.pmfias.com/interaction-of-tectonic-plates-indian-plate.
กฎกระทรวง ฉบับที่ 3 (2564). ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522. สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา.
กรมโยธาธิการและผังเมือง. (2555). คู่มือปฏิบัติเกี่ยวกับการก่อสร้างอาคารในพื้นที่เสี่ยงภัยแผ่นดินไหวสำหรับเจ้าพนักงานท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: สกสค. ลาดพร้าว.
___________________. (2561). มาตรฐานการออกแบบอาคารต้านทานการสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว. กรุงเทพฯ: เอส.พี.เอ็ม การพิมพ์.
กรมทรัพยากรธรณี. (2548). แผนที่เสี่ยงภัยแผ่นดินไหวของประเทศไทย. เข้าถึงเมื่อ 24 มิ.ย. 2564, จาก http://www.dmr.go.th
ทยากร จันทรางศุ. (2557). ความรู้เกี่ยวกับแผ่นดินไหวและการก่อสร้างอาคารให้มั่นคงแข็งแรงเพื่อรับมือแผ่นดินไหว. เข้าถึงเมื่อ 24 มิ.ย. 2564, จาก: http://eit.or.th/DownloadDocument/ความรู้เกี่ยวกับแผ่นดินไหวและการก่อสร้างอาคารให้มั่นคงแข็งแรงเพื่อรับมือแผ่นดินไหว_ทยากร%20จันทรางศุ.Pdf
พงศ์ตะวัน นันทศิริ และคณะ. (2559). แนวทางการจัดการพื้นที่เพื่อรองรับภัยพิบัติแผ่นดินไหวจังหวัดเชียงราย. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ชุดโครงการย่อย. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
_____________________. (2564). ที่พักอาศัยชั่วคราวสำหรับผู้ประสบภัยพิบัติแผ่นดินไหว จังหวัดเชียงราย. เอกสารการประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานผลงานวิจัยระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงรายเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ครั้งที่ 1, The 1st CRRU National Conference on Local Development, “วิถีชีวิตใหม่กับการพัฒนาท้องถิ่น”, New Normal and Local Development Perspectives. วันที่ 24-25 มิถุนายน 2564. จังหวัดเชียงราย.
สิวะลักษมณ์ ขำนุรักษ์ และสรการต์ ศรีตองอ่อน. (2563). ค่าสัมประสิทธิ์ผลตอบสนองแรงแผ่นดินไหวในทุกอำเภอของอาคารโครงสร้างเหล็กรูปพรรณ ตามมาตรฐานของกรมโยธาธิการและผังเมือง (มยผ.1301/1302-61). การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25. วันที่ 15-17 กรกฎาคม 2563 จังหวัดชลบุรี.
อมร พิมานมาศ. (2555). ประเทศไทยเสี่ยงต่อแผ่นดินไหวและสึนามิแค่ไหนและจะรับมืออย่างไร. กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.