2021-v4-1-article7-641217

2021-v4-1-article7-641217

การศึกษาแนวทางในการปรับปรุงพื้นที่สาธารณะเมืองเพื่อให้เพิ่มคุณภาพและตอบสนองพฤติกรรมและความพึงพอใจของชาวเมืองขอนแก่น

เขมโชต ภู่ประเสริฐ
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ภัทระ ไมตระรัตน์
ผู้ช่วยวิจัย
เมธาวิน เถาว์ชาลี
ผู้ช่วยวิจัย

บทคัดย่อ
บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบความพึงพอใจและความเข้าใจของชาวเมืองขอนแก่น ที่มีต่อพื้นที่เปิดโล่งสาธารณะเมืองขอนแก่น ด้วยการใช้แบบสอบถามจากกลุ่มประชากรชาวเมืองขอนแก่น 400 ตัวอย่าง โดยใช้ปัจจัย 6 มิติ เป็นกรอบแนวคิดในการศึกษาเพื่อวิเคราะห์ ไปสู่พื้นที่เปิดโล่งสาธารณะที่มีคุณภาพ ได้แก่ 1)โครงสร้างเมือง 2)การรับรู้ 3)สังคมวัฒนธรรม 4)ทัศนาการ 5)บทบาทหน้าที่ และ 6)ปรากฏการณ์ตามเวลา ซึ่งพบว่า ชาวเมืองขอนแก่นมีความเข้าใจต่อพื้นที่เปิดโล่งสาธารณะในระดับที่เกิดขึ้นจากทั้งการรับรู้จากภายนอกและเกิดจากการซึมซับตามวิถีชีวิตของท้องถิ่นเองด้วย ก่อเกิดเป็นความพึงพอใจต่อพื้นที่สาธารณะเมืองในระดับที่ต่างกันไป แต่ยังมีลักษณะร่วมในทางสังคมและวัฒนธรรมเป็นพื้นฐาน

คำสำคัญ: พื้นที่เปิดโล่งสาธารณะ, สวนสาธารณะ, จินตภาพ, สภาพแวดล้อม

ABSTRACT
This dissertation purpose is to evaluate the satisfaction and understanding of Khon Kaen citizen about Public Urban Space of the city, by surveying method with the sample size is 400 samples. The 6 dimensions, are considered on analyzing in order to develop the quality Public Urban Space, are 1) City structure 2) Awareness 3) Social and culture 4) Perspective 5) Roles and responsibilities and 6) Timing phenomenon. As a result of the research, Khon Kaen Citizen understands Public Urban Space of both inside and outside, however absorbing to local lifestyle with different level of satisfaction but with the same social and culture foundation.

Keywords: Public Urban Space, Public Park, Imagination, Environment

References
[1] กำธร กุลชล และรุจิโรจน์ อนามบุตร. บทเรียนและประสบการณ์จากการสร้างและการทำลาย Urban Space บนถนนราชดำเนิน. บทความทางวิชาการ: ในการประชุมวิชาการครั้งที่ 2 ของสาขาวิชาการออกแบบและวางผังชุมชนเมืองและผังเมือง หัวข้อ “เมืองในภูมิภาค” ณ.โรงแรมเจริญธานีปริ๊นเซส ขอนแก่น, 2544.
[2] อลิศรา มีนะกนิษฐ. วิวัฒนาการลานโล่งในเมือง: ไทยและเทศ. บทความวิชาการ, 2546.
[3] ภควดี ศรีอ่อน. พฤติกรรมการใช้สวนสาธารณะและสภาพแวดล้อมทางภูมิทัศน์ : กรณีศึกษา สวนรมณีนาถ Landscape design and user’s behavior of public park : a case study of Rommaninat park). มหาวิทยา-ลัยศิลปากร, 2555.
[4] ศิวพงศ์ ทองเจือ และคณะ. แนวทางการออกแบบสวนสาธารณะระดับเมือง กรณีศึกษาสวนเฉลิมพระเกียรติ ร.9 เทศบาลนครภูเก็ต, 2549.
[5] ปริญญา ฉายแสง. ความสัมพันธ์ระหว่างความพอใจของผู้ใช้สวนกับพื้นที่ใช้งานในสวนสาธารณะระดับชุมชน: กรณีศึกษาสวนรมณีนาถ และสวนอุทยานเบญจสิริ. วิทยานิพนธ์ปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2540.
[6] พลพินิจ พินิจชอบ. การจัดการสวนสาธารณะเมือง กรณีอุทยานเบญจสิริ. กรุงเทพฯ, 2558.
[7] R. Trancik. Finding Lost Space- theories of urban design. Van Nostrand Reinhold- New York, 1986.
[8] Richard Hedman, Andrew Jaszewski. Fundamental of Urban Design, 1984.
[9] Marcus, Chare Cooper and Francis, Carolyn.People Places Design Guidelines for Urban Open Space.2 nd edition. New York: VandNostrand Reinhold, 1998.
[10] Lynch, Kevin. A theory of good city form: The MIT Press, 1981.