2021-v4-2-bee-article002

2021-v4-2-bee-article002

แนวทางการปรับปรุงทางเดินเท้าเพื่อคนทั้งมวล ย่านสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 7 ศูนย์ราชการจังหวัดขอนแก่น
Improvement of pedestal for universal design surrounding Forest Resource Management Office No.7, Government Center, Khon Kaen Province

นิธิวดี ทองป้อง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
นิชากร เฮงรัศมี
อาจารย์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ธีรพัฒน์ หนองหารพิทักษ์
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
กนกวรรณ พวงคุ้ม
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ผ้าไหม เสงี่ยมศักดิ์
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ภัครมัย คำประสิทธิ์
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

บทคัดย่อ
บทความนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพด้วยการสำรวจพื้นที่ย่านสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 7 ศูนย์ราชการจังหวัดขอนแก่น โดยมีการสำรวจด้วยการให้ทีมสำรวจเดินทางด้วยการจำลองสภาพความพิการทางร่างกายนั่งเก้าอี้ล้อ โดยใช้เครื่องมือในการเก็บข้อมูล ได้แก่ การบันทึกด้วยตารางตรวจสอบความพร้อมในการรองรับการใช้งานตามหลักการออกแบบเพื่อทุกคน การสังเกตการณ์ และการถ่ายภาพ จากนั้นจึงนำมาสรุปเป็นแนวทางการออกแบบปรับปรุงเพื่อเป็นข้อเสนอแนะ
ผลการสำรวจพบว่า พื้นทางเท้าชำรุด แคบ มีขยะทิ้งกระจัดกระจาย และมีสิ่งกีดขวางบนทางเดินเท้า ข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาโดยทางภาครัฐควรมีการจัดการอย่างจริงจัง ซ่อมแซมและบำรุงรักษาทางเดินเท้าและถนน ให้ใช้พื้นที่ของหน่วยงานถอยร่นแนวเขตรั้วเพื่อเพิ่มระยะความกว้างให้ทางเดินเท้า จัดแบ่งเส้นทางถนน คนเดิน และทางจักรยานให้ชัดเจน รวมทั้งสิ่งอำนวยความสะดวกทางคมนาคมโดยรถประจำทาง จัดให้มีทางลาดสำหรับเก้าอี้ล้อ ทางม้าลายสำหรับข้ามถนน ออกแบบภูมิทัศน์ให้บริเวณต้นไม้ใหญ่เป็นสวนสาธารณะขนาดเล็ก สร้างความปลอดภัยและยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีแก่ผู้ใช้งาน

คำสำคัญ: พื้นที่สาธารณะ สถานที่ราชการ การออกแบบเพื่อคนทั้งมวล

ABSTRACT
This article is a qualitative study surveying the surroundings of Forest Resource Management Office No.7, Government Center, Khon Kaen Province. The staff surveyed the area by using a wheelchair to simulate the physical disabilities. The data collection instruments included a checklist, observation, and photography. After that, the obtained data were summarized as a design guideline for improvement.
The results of the survey revealed that the pedestal was damaged and narrow with garbage scattered around. There were also obstacles on the pedestal. Therefore, the government should seriously take these problems into account. The pedestal should be repaired and maintained. It should also share some area of the Government Center by moving the boundary fence into the Government Center’s area to increase the pedestal area. The pedestal and the bike lane should be clearly separated. The transportation facilities as well as wheelchair ramps and crosswalks should be provided. The area with large trees should be designed to be a small park. Safety and wellbeing improvement for users are also required.

Keywords: Public area, Government center, Universal design

References
Connell, B. R., and others. (1997). The 7 Principles of Universal Design. [Cited 8 Oct 2017.] Available from URL: https://projects.ncsu.edu/ncsu/design/cud/about_ud/udprinciplestext.htm
Enscape3D. (2020). Real-time rendering & virtual reality [computer program]. Karlsruhe: Enscape. Accessed March 12, 2020. Available From https://enscape3d.com/
Illumination, I. C. o. (2019). CIE 236: 2019. Lighting for pedestrians: a summary of empirical data: International Commission on Illumination Vienna, Austria.
Preiser, Wolfgang F.E., and Elaine Ostroff. (2001). Universal Design Handbook. New York: McGraw-Hill.
Trimble. (2020). SketchUp Educational Use [computer program]. California: Trimble Navigation Limited. Accessed March 12, 2020. Available From https://www.sketchup.com
กระทรวงมหาดไทย, ก. (2555). มาตรฐานไฟฟ้าสาธารณะ มาตรฐานการติดตั้งไฟฟ้าสาธารณะ. กรุงเทพฯ: สำนักมาตรฐานการบริหารงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, หน้าที่ 15-18.
สมาคมสถาปนิกสยาม. (2557). ข้อแนะนำการออกแบบสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับทุกคน. สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ กรุงเทพฯ: พลัสเพรส.
สำนักช่าง องค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น. (2564). (ร่าง) รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการจัดทำกรอบแนวทางการปรับปรุงผังแม่บทศูนย์ราชการและแผนปฏิบัติการตามผังแม่บทเมืองหลัก: ขอนแก่น (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2564). ขอนแก่น: องค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น.
สัญชัย สันติเวส. (2558). แนวทางการออกแบบเรือนพยาบาลสำหรับคนพิการ : กรณีศึกษา โรงเรียนศรีสังวาลย์ขอนแก่น. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ Veridian e-journal, ปีที่ 8, ฉบับที่ 3, (กันยายน-ธันวาคม), 2558, มหาวิทยาลัยศิลปากร, หน้าที่ 1284-1298.
สัญชัย สันติเวส และ นิธิวดี ทองป้อง. (2560). ทัศนคติของคนไทยที่มีต่อสิ่งอำนวยความสะดวกของผู้พิการที่ถูกออกแบบเพื่อคนทั้งมวลในที่สาธารณะ. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ Veridian e-journal, ปีที่ 10, ฉบับที่ 3, (กันยายน-ธันวาคม), 2560, มหาวิทยาลัยศิลปากร, หน้าที่ 1360-1370.
สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (2548). กฎกระทรวง : กำหนดสิ่งอำนวยความสะดวกในอาคารสำหรับผู้พิการหรือ ทุพพลภาพ และคนชรา พ.ศ. 2548. พระราชบัญญัติความคุมอาคาร พ.ศ. 2522.
สำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม. (2541). ผังแม่บทศูนย์ราชการและแผนปฏิบัติการตามผังแม่บทในเมืองหลัก : ขอนแก่น. คณะกรรมการจัดระบบศูนย์ราชการ.