2020-v3-1-article4

2020-v3-1-article4

ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมของอาคารเรียนในเขตเมือง โรงเรียนประถมศึกษา เขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา

ปัทมาภรณ์ รัตนประดับ
ยิ่งสวัสดิ์ ไชยะกุล
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

บทคัดย่อ
สภาพแวดลŒอมชุมชนเมืองเป็นพื้นที่ที่มีความหนาแน่นของอาคารและการสัญจร ส่งผลให้อุณหภูมิ มลภาวะสูงกว่าพื้นที่นอกเมือง และอาจส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมของอาคารในเขตเมือง โดยเฉพาะอาคารเรียนไม่ปรับอากาศ ซึ่งบทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของโรงเรียนเขตเมืองที่มีขนาดต่างกัน โดยใช้การคัดเลือกตัวอย่างโรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 4 แห่ง ในจังหวัดนครราชสีมา จากนั้นจึงสำรวจข้อมูลภาคสนามเบื้องต้นโดยการถ่ายภาพ การสังเกต และบันทึกข้อมูล เพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมของโรงเรียนตัวอย่าง ผลการศึกษาพบว่า องค์ประกอบด้าน (1) คุณลักษณะด้านที่ตั้ง ความสูงอาคารข้างเคียง (2) การใช้ประโยชน์พื้นที่เปิดโล่งภายนอกอาคาร เช่น สัดส่วนพื้นผิวดาดแข็ง และพื้นที่สีเขียว (3) รูปแบบอาคารเรียน มีผลต่อการใช้ประโยชน์จากสภาพแวดล้อมของอาคารเรียน โดยเฉพาะโรงเรียนขนาดใหญ่เขตเมืองที่มีกิจกรรมการเรียนหลากหลาย และจำนวนผู้ใช้งานต่อขนาดพื้นที่หนาแน่นมาก

คำสำคัญ: โรงเรียนประถมศึกษา สิ่งแวดล้อม อาคารเรียน

Abstract
Urban environment is an area with density of buildings and traffic affecting temperature pollution, where is higher than non-urban area. That area may affect the environment of building, especially non-air conditioned school buildings. Propose of this article were as; to study and analysis the environmental factors of urban schools with different sizes and; to analysis and compare the environment factors of those sampled schools. Four primary schools in Nakhon Rachasima province were selected as samples. Fundamental data from field survey was conducted by taking photographs, observation and recording data to compare and analysis the environment factors of the sample. The study revealed that there were different compositions as in inspect of; (1) location, characteristics and height of building in the vicinity, (2) utilization of open space outside the school buildings e.g. the proportion of hard surfacesand green area and (3) building model affecting the utilization of school building’s environment;especially large size school in urban areas that had various educational and number of user perarea was in high density.

Keywords: primary schools / environment / school building

References
[1] กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน, คู่มือเผยแพร่อาคารต้นแบบประหยัดพลังงานภาครัฐ โครงการศึกษาและพัฒนาเพื่อสร้างต้นแบบอาคารอนุรักษ์พลังงานสำหรับภาครัฐ, 2558.
[2] จามรี อาระยานิมิตสกุล. พืชพันธุ์ในงานภูมิสถาปัตยกรรม. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558.
[3] เฉลิมวัฒน์ ตันสวัสดิ์. การออกแบบที่พึ่งพาธรรมชาติเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศโรงเรียนอนุรักษ์พลังงานแห่งอนาคต. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง, 2554.
[4] อวิรุทธ์ ศรีสุธาพรรณ. เทคโนโลยีสภาวะแวดลŒอมในการออกแบบสถาป˜ตยกรรมเขตร้อน-ชื้น. ปทุมธานี:มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง, 2552.
[5] D. M. Connolly and et al., “Students’ perceptions of school acoustics and the impact of noise on teaching and learning in secondary schools: Findings of a questionnaire survey”, Energy Procedia, Volume 78, pp 3114-3119, 2015.
[6] J. A. Becerra and et al., “Identification of potential indoor air pollutants in schools”, Journal of Cleaner Production, Volume 242, 2020.
[7] M. Moussa, Y. mostafa and A. A. Elwafa., “School Site Selection Process”, Procedia Environmental Sciences. Volume 37, pp. 282-293, 2017.
[8] สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. รายละเอียดสิ่งก่อสร้าง. (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก http://bobec.bopp-obec.info/build_sch_list.php?Area_CODE=3007 (วันที่ค้นข้อมูล : 15 พฤศจิกายน 2562)
[9] สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1. ข้อมูลสารสนเทศ ปี 2562 (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก http://koratedu.info/2017/ (วันที่ค้นข้อมูล : 30 พฤศจิกายน 2562)