2019-v2-1-article5

2019-v2-1-article5

สภาพแสงสว่างในสิมโบราณในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย
Lighting conditions in ancient Sim temples in Northeastern Thailand

ธีรพัฒน์ หนองหารพิทักษ์
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ยิ่งสวัสดิ์ ไชยะกุล
รองศาสตราจารย์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

บทคัดย่อ
บทความนี้นำเสนอผลการสารวจแสงสว่างภายในสิมอีสานซึ่งเป็นอุโบสถ์เก่าแก่ที่มีขนาดเล็กมีไว้สาหรับประกอบพิธีกรรมทางศาสนาพุทธของพระภิกษุสงฆ์ ซึ่งจะประกอบพิธีกรรมเป็นกิจวัตร คือ การทำวัตรเช้าและการทำวัตรเย็น และเปิดบริการให้บุคคลทั่วไปมาเยี่ยมชมสักการะตลอดทั้งวัน บทความนี้สำรวจสิมอีสานในจังหวัดขอนแก่นจำนวน 3 หลัง และจังหวัดนครพนม จำนวน 3 หลัง รวมเป็นจำนวน 6 หลัง โดยทำการเก็บข้อมูลแสงปัจจุบัน แบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลัก ได้แก่ (1) การศึกษาเก็บข้อมูลด้านปริมาณแสงสว่าง (Illuminance) ของพื้นที่ภายในสิม อุณหภูมิสีของแสง (Color temperature) ความสม่ำเสมอของความส่องสว่าง (Illuminance uniformity) และดัชนีความถูกต้องของสี (Color rendering index) นำข้อมูลที่ได้มาเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานของไทย (TIEA) และต่างประเทศ (CIE, IESNA, CIBSE) (2) การศึกษาเก็บข้อมูลด้านคุณภาพแสงสว่าง ได้แก่ ตำแหน่งที่ติดตั้งหลอดไฟ และชนิดของหลอดไฟ ผลการศึกษาพบว่า สิมส่วนใหญ่มีค่าความสว่างผ่านเกณฑ์ของ CIBSE แต่ไม่ผ่านเกณฑ์ของ TIEA, IESNA และ CIE เนื่องจากเกณฑ์ CIBSE มีข้อแนะนำปริมาณความสว่างที่ต่ำกว่า โดยพื้นที่ส่วนใหญ่ที่ผ่านเกณฑ์ คือ ทางสัญจรและผนังภายในบางด้าน และพื้นที่ส่วนใหญ่ที่ไม่ผ่านเกณฑ์ คือ บริเวณพระพุทธรูปและผนังภายในบางด้าน ยกเว้น สิมวัดไชยศรี จังหวัดขอนแก่น ที่มีพื้นที่ส่วนใหญ่ไม่ผ่านเกณฑ์ทั้งหมด ตำแหน่งการติดตั้งพบว่า สิมทุกหลังมีการติดตั้งดวงโคมเปลือยและหลอดฟลูออเรสเซนต์ ไม่มีรูปแบบการให้แสงสว่างที่น่าสนใจ ยกเว้นสิมวัดสระทองบ้านบัว จังหวัดขอนแก่น ที่มีการติดตั้งหลอดไฟส่องเน้นที่พระพุทธรูป แนวทางการปรับปรุงด้านปริมาณแสงสว่างให้เพียงพอ ได้แก่ เพิ่มอุปกรณ์ให้แสงสว่าง และเปิดใช้งานร่วมกับแสงธรรมชาติ ควบคุมช่วงเวลาเปิด-ปิด ให้แสงสว่างเพียงพอ ด้านคุณภาพ ได้แก่ การเปลี่ยนอุปกรณ์ให้มีประสิทธิภาพ การให้แสงสว่างให้เพียงพอเหมาะสมกับงานทางสายตาและเพิ่มความน่าสนใจ ความสวยงามให้กับพื้นที่โดยการเทคนิคการให้แสงสว่างแบบต่างๆ

คำสำคัญ: สิมอีสาน, แสงสว่าง, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Abstract
This paper shows the results of field survey on lighting in ancient Sim temple buildings. Ancient Sim in the past was the main building in a temple for Buddhism monk to gather for daily activities. Nowadays, when the modern Sim building has replaced the ancient Sim, temple visitors come to see the ancient Sim building for cultural and heritage tourist spots. The field surveys were conducted in three temples in Khon Kaen, three temples in Nakorn Pranom and two temples in Mahasarakham.
The information obtained from the survey are: Sim building configurations and existing lighting conditions. Lighting quantity was measured and compared with standards used in Thailand (TIEA) and international countries (CIE, IESNA). The results shows that illuminance levels for Sim visual tasks such as circulation and some walls meet the standards but most of the areas, the illuminance levels such as altar and mural painting on the interior walls are lower than the minimum suggestions. The lighting installations are florescent and LED tubes with uniformly laid on the ceiling. Only Sim building in Wat Sra Thong, Khon Kaen that highlight lamp is used for lighting the main Buddha statue in the altar. The initial guidelines derived from the survey are that the lighting quantity could be improved to provide better lighting conditions for modern visual tasks of the building. The lighting quantity is to promote visual environment of the sacred space by lighting design techniques.

Keywords: Sim temple, Lighting, Northeastern

References
CIBSE (1994). CIBSE Code for Interior Lighting. London: Chartered Institution of Building Services Engineers.
CIE (2004). CIE 157:2004 Control of Damage to Museum Objects by Optical Radiation. The International Commission on Illumination. Vienna: CIE Central Bureau.
CIE (2001). CIE Standard Lighting of Indoor Work Places. The International Commission on Illumination. Vienna: CIE Central Bureau.
IESNA (1996). Iesna Lighting Ready Reference. New York: lluminating Engineering Society Annual Report.
SLL (2009). The SLL Lighting Handbook. London, CIBSE.
Illuminating Engineering Association of Thailand. (2005). “Minimum illuminance for interior tasks and activities.” Retrieved 28th November, 2018, from http://www.tieathai.org/know/general/lux.html